วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2558

โครงงาน เรื่อง อาหารคลีน


http://acrcleanfood.blogspot.com/


ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำโครงงาน

1.ได้รู้วิธีขั้นตอนการประกอบทำอาหารคลีน
2.ได้รู้คุณค่าประโยชน์สารอาหารที่ได้รับจากรับประทานอาหารคลีน
3.ทำให้สามารถรู้ได้ว่าผู้รับประทานจะมีสุขภาพดีขึ้น
4.ได้รับรู้สามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนคืออาหารคลีน
5.ได้รับรู้ว่าสิ่งใดไม่ควรรับประทานคู่กับอาหารคลีน

วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2558

คำศัพท์ทรัพย์สินทางปัญญา

1.Patent - สิทธิบัตร 
2.Ministry of Commerce - กระทรวงพาณิชย์ 
3.Ministry of Education - กระทรวงศึกษาธิการ 
4.Ministry of science and technology - กระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 
5.Ministry of information and Communication Technology 
- กระทรวง ของข้อมูลและ เทคโนโลยีการสื่อสาร 
6.Trade Secrets ความลับทางการค้า 
7.The general public ประชาชนทั่วไป 
8.Copyright - ลิขสิทธิ์ 
9.Trademark - เครื่องหมายการค้า 
10.Disc Production - การผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี 
11.Certification mark - เครื่องหมายรับรอง 
12.Advertising - โฆษณา 
13.The draft of wisdom - ร่าง ของภูมิปัญญา 
14.Layout Designs of Integrated Circuits - รูปแบบของ การออกแบบ วงจรรวม 
15.Piracy - การละเมิดลิขสิทธิ์ 
16.The Department of Information Technology - กระทรวง เทคโนโลยีสารสนเทศ 
17.Machinery - เครื่องจักร 
18.Manufacturing - การผลิต 
19.Imprisonment - การจำคุก 
20.Mathematical Symbols - สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์

วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2558

โครงงานคอมพิวเตอร์

สมาชิก
1.นาย ยศวริศ        โยมา  ม.5/2  เลขที่  9
2.นางสาว เพชรรัตน์ ตันมี   ม.5/2  เลขที่ 27

วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สรุปขั้นตอนการแนบไฟล์ในบล็อค

1.นำไฟล์ Microsoft Office Word เวอร์ชั่นใดก็ได้ที่ทำเสร็จแร้วเป็นต้นฉบับ

2.บันทึกไฟล์ต้นฉบับเปลี่ยนเป็น ไฟล์ PDF
   -ถ้าอยากในคอมพิวเตอร์ไม่มีโปรแกรม PDF ควรทำการโหลด           โปรแกรม PDF ลงโปรแกรมด้วย

 3.นำไฟล์จากฉบับต้นที่ทำการเปลี่ยนแปลงเป็น PDF เรียบร้อยแร้ว ทำการอัพโหลดลงใน Slideshare
    -ถ้าอยากผู้ใดไม่มี Sileshare ให้ทำการสมัคร Sileshare ให้            เรียบร้อยแร้วค่อยทำการอัพโหลดไฟล์ 

4.เมื่ออัพโหลดไฟล์ใน Slideshare ของตนเองเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ก็อปปี้ HTML ของไฟล์ที่เราอัพโหลดลง Slideshare 

5.Copy Embed Code จากไฟล์ใน my upload 

6.เปิด Blogger ของตนเอง 

7.สร้างบทความใหม่ แล้วเลือกหัวข้อ "HTML" 

8.Paste Embed Code ลงใน HTML 

9.กดหัวข้อ "เขียน" 

10.กด "เผยแพร่" 

11.ไฟล์ slideshare จะขึ้นในหน้า Blogger เรียบร้อยสวยงาม









วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ใบงานที่3

เรื่อง Web Browser ที่นักเรียนชอบมากที่สุด

-ให้นักเรียน เลือก Web Browser ที่ชอบมากที่สุด
-พร้อมหารายละเอียดเกี่ยวกับเว็บนั้น ๆ
-พร้อมรูปภาพประกอบ
-แหล่งอ้างอิง ทำ Link



Google Chrome


กูเกิล โครม เป็นซอฟต์แวร์เว็บเบราว์เซอร์แบบโอเพนซอร์ซ พัฒนาโดยกูเกิล ใช้เว็บคิตเป็นเรนเดอริงเอนจินสำหรับวาดหน้าจอ และนำบางส่วนจากเว็บเบราว์เซอร์ไฟร์ฟอกซ์มาพัฒนาต่อ
โครมมีให้ดาวน์โหลดเพื่อทดสอบใช้งานสำหรับวินโดวส์ และมีภาษาที่ให้ใช้ได้มากกว่า 50 ภาษารวมถึงภาษาไทย รุ่นสำหรับแมคโอเอส และ ลินุกซ์ นั้นกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา ซึ่งจะเปิดให้ทดสอบในอนาคต
โครมเป็นตัวพัฒนาจากโค้ดของซอฟต์แวร์ โครเมียม ซึ่งใช้สัญลักษณ์เดียวกัน แต่คนละสี


-ประวัติ
กูเกิลเปิดตัวโครมด้วยหนังสือการ์ตูนความยาวเกือบ 40 หน้า เล่ารายละเอียดของเบราว์เซอร์ เล่าว่าได้ทีมงานพัฒนาเบราว์เซอร์ไฟร์ฟอกซ์และอดีตทีมงานมอซิลลามากกว่า 2 คนร่วมพัฒนา

-รูปแบบ
รุ่นทดสอบ 0.2 ซึ่งมีจุดเด่นเรื่องการปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ เน้นการจัดการหน่วยความจำเพื่อรักษาประสิทธิภาพด้านความเร็วในการเปิดเว็บไซต์ และสิ่งที่แตกต่างจาก ไออี 8 อย่างหน้าตาโปรแกรมให้ใช้งานสะดวกมีการปรับให้แท็บย้ายไปอยู่เหนือแอดเดรสบาร์ (address bar) และการฝังระบบบริการจากกูเกิลและค่ายอื่นลงไป เหมือนกับไฟร์ฟอกซ์ (Firefox) และไออี 8 (IE 8) และยังมีการแสดงรายชื่อมัลแวร์ (malware) หรือซอฟต์แวร์ประสงค์ร้าย เพื่อเตือนผู้ใช้ และลูกเล่นอื่น ๆ


-ความสามารถ
V8 JavaScript engine - ตัวประมวลผลจาวาสคริปต์ ซึ่งสามารถทำงานได้เร็วกว่าจาวาสคริปต์เอนจินของเว็บเบราว์เซอร์ตัวอื่น พัฒนาโดยกูเกิลเดนมาร์ก โดยมี ลารส์ บัก เป็นวิศวกรหลัก
incognito mode (โหมดไม่ระบุตัวตน) - เล่นเว็บโดยไม่แสดงข้อมูลส่วนตัว โดยเมื่อปิดเบราว์เซอร์ โปรแกรมจะลบข้อมูลส่วนตัวในหน้าเว็บที่เข้าชมออก ไม่เก็บไว้ในระบบ



-คำวิจารณ์
ตั้งแต่กูเกิล โครมออกมามีการถกเถียงถึงประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานอย่างกว้างขวางในหลายมุมมอง โดยนิวยอร์กไทมส์ และ Wall Street Journal  กล่าวว่าเป็นเบราว์เซอร์ที่ดูสะอาดตา ดาวโหลดมาใช้ได้ง่าย มีระบบที่รักษาความปลอดภัยที่ดี มีความเร็วในการใช้งานมากกว่า อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ แต่ยังช้ากว่า ไฟร์ฟอกซ์ และ ซาฟารี ในขณะที่ทางซีเน็ต และเว็บไซต์ FOX NEWS ได้แสดงผลลัพธ์ว่าโครมเร็วกว่า ไออี ไฟร์ฟอกซ์ และซาฟารี เช่นเดียวกับทางบล็อกของมอซิลลาผู้สร้างโปรแกรมไฟร์ฟอกซ์ ออกข่าวว่า โครมนั้นเร็วกว่าไฟร์ฟอกซ์รุ่นปัจจุบัน (3.0.1) แต่ไฟร์ฟอกซ์รุ่น 3.1 ที่จะออกมาจะเร็วกว่าโครม กูเกิล โครมยังพบปัญหาบางอย่างเช่น ตำแหน่งของลูกศรเมื่อทำการพิมพ์ อาจมีการผิดเพี้ยนไปบ้าง เมื่อทำการคัดลอกข้อความใดๆ ด้วยการทำแถบสี อาจจะประสบปัญหาไม่สามารถคัดลอกได้ทั้งประโยค เป็นต้น


-รายละเอียดปลีกย่อย
ในกูเกิล โครมมีไข่อีสเตอร์ด้วย ถ้าเราพิมพ์ "about:" ตามด้วยข้อความบางข้อความลงในแอดเดลสบาร์ เช่น "about:stats" จะทำให้กูเกิล โครมแสดงคำว่า"Shhh! This page is secret!"และค่าที่ซ่อนในโปรแกรม
กูเกิลได้เปลี่ยนโลโก้ใหม่ ในรุ่นที่ 11.0


คีย์ลัด บน Google Chrome 
Ctrl + N : ใช้สำหรับ เปิดหน้าต่าง Google Chrome เพิ่มอีกหนึ่งอัน (Open New Window)
Ctrl + T : ใช้สำหรับ เปิด Tab ใหม่ ในหน้าต่างเดิม (Open New Tab)
Ctrl + Shift + N : เปิด หน้าต่าง Google Chrome เพิ่ม ในโหมด Incognito
Ctrl + Shift + T : เปิด Tab ที่เคยปิดไปล่าสุด สูงสุด 10 Tab
ALT + F หรือ ALT + E : เปิดเมนูบาร์ Google Chrome
Ctrl + Shift + B : เปิด / ปิด แถบ Bookmark
Ctrl + H : เปิดดู History
Ctrl + J : เปิดดูรายการดาวน์โหลด
Shift + ESC : เปิด Google Chrome Task Manager เพื่อดูว่าหน้าไหนที่ทำให้ระบบช้า และเลือกปิดได้


-อ้างอิง


วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ใบงานที่2

1.เว็บเบราเซอร์ (web browser) หมายถึงอะไร?
ตอบ หมายถึงโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้ท่องเว็บหรือใช้ดูข้อมูลที่อยู่ในเว็บไซต์ เบราเซอร์มีความสามารถในการเปิดดูไฟล์ต่างๆ ที่สนับสนุนเช่น Flash JavaScript PDF Media ต่างๆ ซึ่งเบราเซอร์มีหลายตัวและความสามารถของแต่ละตัวก็แตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่าผู้พัฒนาเบราเซอร์ พัฒนาให้มีความสามารถอะไรบ้าง เบราเซอร์มักใช้เปิดดูเว็บเป็นส่วนใหญ่ และการใช้งานต่างๆในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตก็มักจะทำผ่านเบราเซอร์ เช่น การดูภาพยนตร์ผ่าน Youtube การส่งเมล์ การซื้อขายสินค้าในระบบ e-commerce การใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) การดาวน์โหลดไฟล์ การเล่นเกมผ่านเน็ต การเรียนออนไลน์ เป็นต้น ล้วนแล้วแต่ทำผ่านเบราเซอร์ทั้งสิ้น

2. การทำงานของเว็บเบราว์เซอร์?
ตอบ การทำงานของบริการ WWW นี้จะมีลักษณะเช่นเดียวกันกับบริการอื่นๆ ของอินเทอร์เน็ต คืออยู่ในรูปแบบไคลเอ็นต์-เซิร์ฟเวอร์ (client - server) โดยมีโปรแกรมเว็บไคลเอ็นต์ (web client) ทำหน้าที่เป็นผู้ร้องขอบริการ และมีโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์ (web server) ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ โปรแกรมเว็บไคลเอ็นต์ก็คือโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (web browser) นั่นเอง สำหรับโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์นั้นจะถูกติดตั้งไว้ในเครื่องของผู้ให้บริการเว็บไซต์ การิดต่อระหว่างโปรแกรมเว็บบราวเซอร์กับโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์จะกระทำผ่านโปรโตคอล HTTP (Hypertext Transfer Protocol)


3. ตัวอย่างเว็บเบราว์เซอร์ มา 3 โปรแกรม?
ตอบ Internet Explorer(IE) , Firefox , Google chrome

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ใบงานอินเทอร์เน็ต(Internet)

1.ความหมายของอินเทอร์เน็ต?
ตอบ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลาย ๆ ทาง อาทิ อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้



2.ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย?
ตอบ อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการ เชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร"
การให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัทอินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย




วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558

คำสั่งแทรกรูปภาพ

การใส่รูปภาพ
การทำเว็บเพจในหนึ่งหน้า นอกจากจะมีข้อความแล้วยังต้องประกอบด้วยรูปภาพเพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับเว็บเพจ นอกจากนี้แล้วรูปภาพยังสามารถสื่อความหมายได้ชัดเจนกว่าข้อความ ดังคำกล่าวที่ว่า "หนึ่งภาพแทนพันตัวอักษร" การใส่รูปภาพในเอกสาร HTML นั้นคุณจะต้องเตรียมรูปภาพไว้ก่อนค่ะ โดยใช้แท็กสำหรับแสดงผลรูปภาพดังนี้ค่ะ


รูปแบบการใส่รูปภาพ

<html>
<head><title> ....การใส่รูปภาพ....</title></head>
<body>
<img src = "lilies.jpg">
</body>
</html>

สำหรับแท็กการใส่รูปภาพ สามารถมี Attribute กำกับเพิ่มเติมได้้ ไม่ว่าจะเป็นขนาดความกว้าง ความสูงของรูปภาพว่าเราต้องการให้แสดงขนาดกว้างและสูง เท่าไหร่ ซึ่งหากเราไม่ได้ระบุภาพจะมีขนาดเท่าขนาดของภาพต้นฉบับ นอกจากนี้เรายังสามารถใส่ขอบของภาพได้ด้วย ซึ่ง Attribute มีดังนี้

ความกว้าง width="ตัวเลขระบุความกว้าง"
ความสูง height="ตัวเลขระบุความสูง"
เส้นขอบ border="ตัวเลขระบุความหนาของเส้นขอบ"

ตัวอย่าง <img src = "lilies.jpg" width="200" height="150" border="1">

จากตัวอย่าง จะแสดงภาพขนาด 200x150 px. (หน่วยการแสดงผลภาพ แสดงเป็น Pixels) และ่มีขอบ หากไม่ต้องการให้แสดงเส้นขอบให้กำหนด border="0" (หากต้องการใ้ห้ขอบมีความหนามาก ระบุตัวเลขให้มาก)

ใบงาน HTML

ให้สรุปคำสั่ง HTML มา 5 คำสั่ง
1. <br>...</br> เว้นบรรทัด
2. <dir>...</dir> การทำหัวข้อ
3. <b>...</b> ตัวอักษรตัวใหญ่
4. <i>...</i> ตัวอักษรตัวเอียง
5. <title>...</title> การเขียนหน้าเว็บ

วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558

ใบงานที่6

1.หลักการเขียนภาษาคอมพิวเตอร์หมายถึงอะไร?
ตอบ หลักการเขียนรูปแบบโครงสร้างคำสั่งของภาษานั้นๆ โดยภาษาคอมพิวเตอร์ที่เป็น ภาษาคอมพิวเตอร์ เป็นสื่อกลางระหว่างมนุษย์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อควบคุมและสั่งงานให้เครื่องทำงานตามคำสั่งเพื่อให้ผลลัพธ์ตามที่ผู้ใช้ต้องการ


2.โปรแกรมแปลภาษาคอมพิวเตอร์ คืออะไร?
ตอบ โปรแกรมแปลภาษาเป็นซอฟต์แวร์หรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่แปลงโค้ดโปรแกรม (Source Program) เป็นคำสั่งปฏิบัติการ (Object Program) เนื่องจากภาษาระดับต่ำและภาษาระดับสูงเป็นภาษาเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถรับรู้ได้ จำเป็นต้องมีชุดคำสั่งที่ใช้เป็นตัวแปลภาษาเครื่องเสียก่อนซึ่งโปรแกรมแปลภาษาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

2.1 ตัวแปลภาษาระดับต่ำ ภาษาระดับต่ำแม้ว่าจะเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาเครื่องแต่ลักษณะของภาษานี้ใช้ตัวอักษรแทนชุดคำสั่งของเลขฐานสอง (0,1) ในภาษาเครื่อง จึงจำเป็นชุดคำสั่งที่ใช้แปลภาษาระดับต่ำให้เป็นภาษาเครื่อง ซึ่งชุดคำสั่งที่ใช้แปลภาษาระดับนี้ ได้แก่ โปรแกรมภาษาแอสเซมเบลอร์ ( Assembler ) ที่ใช้ตัวแปลที่มีชื่อว่า แอสเซทบลี (Assembly)

2.2 ตัวแปลภาษาระดับสูง ภาษาระดับสูงเป็นภาษาที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน โดยมีรูปแบบคำสั่งที่มนุษย์อ่านและวามารถเข้าใจได้เพราะใช้อักขระในภาษาอังกฤษเป็นองค์ประกอบ แต่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถเข้าใจคำสั่งนั้นๆ จึงจำเป็นต้องมีชุดคำสั่งที่ใช้แปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องอีกที ซึ่งโปรแกรมภาษาระดับสูง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

2.2.1 คอมไพเลอร์ (Compiler) เป็นโปรแกรมที่ใช้แปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องลักษณะการแปลภาษาระดับสูงของคอมไพเลอร์นั้น เป็นลักษณะการตรวจสอบคำสั่งที่ได้รับเข้ามาว่าการเขียนคำสั่งนั้นถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ของภาษาหรือไม่ถ้ายังไม่ถูกต้องก็จะแจ้งข้อผิดพลาดให้ผู้ใช้ทราบเพื่อจะทำการแก้ไขให้ถูกต้อง ถ้าหากตรวจสอบแล้วถูกต้องจะแปลจาก Source Program ให้เป็น Object program เก็บไว้ในหน่วยความจำ และถ้ามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงชุดคำสั่งใหม่ จะต้องมีการแปลชุดคำสั่งใหม่ทั้งโปรแกรม เพื่อเก็บ Object program อีกครั้งนี้ การใช้คอมไพเลอร์ถ้าเป็นชุดคำสั่งที่ต้องการทำการประมวลผลต่อเนื่องกันหลายๆ ครั้งจะทำให้การประมวลผลเร็ว เพราะไม่ต้องแปลใหม่อีกสามารถเรียกใช้ Object program ได้เลย ภาษาที่ใช้ตัวแปลประเภทนี้ เช่น Fortran,Cobol เป็นต้น

2.2.2 อินเตอร์พรีตเตอร์ (Interpreter) เป็นโปรแกรมที่ใช้แปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง โดยการแปลชุดคำสั่งที่นำเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ทีละคำสั่ง และทำการประมวลผลทันทีโดยไม่ต้องทำให้เป็น Object program ถ้าหากพบข้อความผิดพลาดโปรแกรมจะหยุดทำงานทันที เมื่อทำการแก้ไขชุดคำสั่งก็ต้องแปลค่าคำสั่งที่แก้ไขเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่ง จึงจะทำงานการประมวลผลโดยไม่ต้องแปลใหม่หมดทั้งโปรแกรม ครั้งจะทำการประมวลผลช้าลง เพราะต้องแปลใหม่ทุกครั้งที่มีการประมวลผล ภาษาที่ใช้ตัวแปลประเภทนี้ เช่น pascal, Basic เป็นต้น

3.ตัวอย่างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่เขียนด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ 1 โปรแกรม ?
ตอบ 1) คอมไพเลอร์ (Compiler)เป็น โปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการแปลโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงที่เรียกกันว่า “โปรแกรมต้นฉบับ” (Source Program) ให้เป็นโปรแกรมภาษาเครื่อง (Object Program) ถ้ามีข้อผิดพลาดเครื่องจะพิมพ์รหัสหรือข้อผิดพลาดออกมาด้วย ภายหลังการแปลถ้าไม่มีข้อผิดพลาด ผู้ใช้สามารถสั่งประมวลผลโปรแกรม และสามารถเก็บโปรแกรมที่แปลภาษาเครื่องไว้ใช้งานต่อไปได้อีก โดยไม่ต้องทำการแปลโปรแกรมซ้ำอีก ตัวอย่างโปรแกรมแปลภาษาแบบนี้ ได้แก่ โปรแกรมแปลภาษาฟอร์แทรน โปรแกรมแปลภาษาโคบอล โปรแกรมแปลภาษาปาสคาล โปรแกรมแปลภาษาซี

Code Color HTML

http://www.yupparaj.ac.th/CAI/color/colorcode.html

วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

ใบงานที่5

การเขียนผังงาน(flowchart)

1.ความหมาย?
ตอบ ผังงาน (Flowchart) คือ รูปภาพ (Image) หรือสัญลักษณ์(Symbol) ที่ใช้เขียนแทนขั้นตอน คำอธิบาย ข้อความ หรือคำพูด ที่ใช้ในอัลกอริทึม (Algorithm) เพราะการนำเสนอขั้นตอนของงานให้เข้าใจตรงกัน ระหว่างผู้เกี่ยวข้อง ด้วยคำพูด หรือข้อความทำได้ยากกว่า


2.สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงาน?
ตอบ

3.การเขียนผังงาน/ตัวอย่่าง?
ตอบ ในการเขียนผังงานหรือโฟลว์ชาร์ต ต้องรู้จักเลือกใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์ที่เหมาะสม รวมถึงอุปกรณ์ที่ช่วยในการเขียนผังงานที่เรียกว่า “ Flow Chart Template “ ซึ่งอุปกรณ์นี้จะช่วยให้การเขียนผังงานสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
ในการเขียนผังงานนี้จะเขียนตามขั้นตอนและวิธีการประมวลผลที่ได้ทำการวิเคราะห์งานเอาไว้แล้ว ซึ่งต้องพิจารณาตามลำดับก่อนหลังของการทำงาน เพื่อจัดภาพของผังงานให้เป็นมาตรฐานง่ายต่อการเข้าใจ และช่วยให้การเขียนโปรแกรมจากผังงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อให้การเขียนผังงานเป็นมาตรฐานเดียวกันจะใช้ลำดับในการเขียนผังงานดังนี้


1. การกำหนดค่าเริ่มต้น เป็นการกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปรต่างๆ ที่จำเป็นบางตัว ได้แก่ ตัวแปรที่ใช้เป็นตัวนับ หรือตัวแปรที่เป็นตัวคำนวณผลรวมต่างๆ
2. การรับข้อมูลเข้า เป็นการรับข้อมูลนำเข้ามาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประมวลผล แล้วนำค่ามาเก็บไว้ในตัวแปรใด ๆ ที่กำหนดเอาไว้
3. การประมวลผล เป็นการประมวลผลตามที่ได้มีการกำหนด หรือเป็นการคำนวณต่างๆ ซึ่งจะต้องทำทีละลำดับขั้นตอนและแยกรูปแต่ละรูปออกจากกันให้ชัดเจนด้วย
4. การแสดงผลลัพธ์ เป็นการแสดงข้อมูลที่ได้จากการคำนวณหรือผลลัพธ์ที่ต้องการหรือค่าจากตัวแปรต่างๆ ซึ่งการแสดงผลลัพธ์นี้มักจะกระทำหลังจากการประมวลผล
หรือหลังจากการรับข้อมูลเข้ามาแล้ว


ตัวอย่างการเขียนผังงาน Flowchart
ตัวอย่างที่ 1 ผังงานการต้มบะหมี่สำเร็จรูป

วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

ใบงานที่4

1.การถ่ายทอดความคิดในการแก้ไขปัญหาด้วยอัลการิทึม(การเขียนรหัสจำลอง)หมายถึงอะไร?
ตอบ การเขียนรหัสจำลอง (Pseudo Code) คือการเขียนอัลกอริทึมโดยใช้ประโยคภาษาอังกฤษที่สื่อความ    หมายง่าย ๆ สามารถอ่านแล้วเข้าใจได้โดยทันที แต่ก็สามารถใช้รูปแบบที่เป็นภาษาพูดด้วยภาษาไทยและภาษาอังกฤษก็ได้
2.เครื่องมือที่ใช้ในการจำลองความคิด มีอะไรบ้าง?
ตอบ 1. ข้อความหรือคำบรรยาย เป็นการเขียนเค้าโครงการบรรยายเป็นภาษาที่มนุษย์ใช้สื่อสารกันเพื่อให้ทราบถึงขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมแต่ละตอน ในบางครั้งอาจใช้คำสั่งของภาษา
ที่ใช้เขียนโปรแกรมได้
2. สัญลักษณ์ เครื่องหมายรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งใช้สำหรับสื่อความหมายให้เข้าใจตรงกัน
โดยมีรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้

3.การเขียนรหัสจำลอง ทำอย่างไร?
ตอบ รหัสลำลองหรือ pseudocode เป็นคำบรรยายที่เขียนแสดงขั้นตอนวิธี(algorithm) ของการเขียนโปรแกรม โดยใช้ภาษาที่กะทัดรัด สื่อสารกับโปรแกรมเมอร์ผู้เขียนโปรแกรม โดยอาจใช้ภาษาที่ใช้ทั่วไปและอาจมีภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมประกอบ แต่ไม่มีมาตรฐานแน่นอนในการเขียน pseudocode และไม่สามารถนำไปทำงานบนคอมพิวเตอร์โดยตรง(เพราะไม่ใช่คำสั่งในภาษาคอมพิวเตอร์) และไม่ขึ้นกับภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง นิยมใช้ pseudocode แสดง algorithmมากกว่าใช้ผังงาน เพราะผังงานอาจไม่แสดงรายละเอียดมากนักและใช้สัญลักษณ์ซึ่งทำให้ไม่สะดวกในการเขียน เช่นโปรแกรมใหญ่ ๆ มักจะประกอบด้วยคำสั่งต่างๆที่ใกล้เคียงกับภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมจริงๆ เช่น begin…end, if…else, do…while, while, for, read และ print การเขียนรหัสจำลองจะต้องมีการวางแผนสำหรับการอ้างอิงถึงข้อมูลต่างๆที่จะใช้ในโปรแกรมด้วยการสร้างตัวแปร โดยใช้เครื่องหมายเท่ากับ (=) แทนการกำหนดค่าให้กำหนดตัวแปรนั้นๆ

-แหล่งอ้างอิง
-https://sites.google.com/site/dutchyycom1gp/home/kar-thaythxd-khwam-khid-ni-kar-kaekhi-payha
-http://krunes.maepa.org/teach/Program/P_3.html
-https://sites.google.com/site/studyoverroom/home/khwam-hmay-laea-khan-txn-kae-payha/xal-kx-li-thum/kar-kheiyn-rhas-calxng


วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558

ใบงานที่3

กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.ความหมายของกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ ?
ตอบ ขั้นตอนการแก้ปัญหาหรือตอบสนองต่อความต้องการซึ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากทรัพยากรให้เป็นผลผลิตหรือผลลัพธ์ระบบเทคโนโลยีประกอบด้วยกระบวนการเทคโนโลยีก่อให้เกิดประโยชน์ใช้สอย ตามที่มนุษย์ต้องการและเปลี่ยนแปลงการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมต่างๆของมนุษย์  เพราะมนุษย์มีความต้องการในการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆในการดำรงชีวิต  ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาที่อาจเกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นต่างๆที่มนุษย์สร้างขึ้น และบางครั้งปัญหาอาจเกิดการผลิตสิ่งของต่างๆไม่ตรงตามความต้องการไม่ได้คุณภาพจึงต้องมีการออกแบบ



2.กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศมีกี่ขั้นตอนอะไรบ้าง ?
ตอบ 6ขั้นตอนได้แก่
1.การรวบรวมข้อมูล
2.การตรวจสอบข้อมูล
3.การประมวลผลข้อมูล
4.การจัดเก็บข้อมูล
5.การคิดวิเคราะห์
6.การนำข้อมูลไปใช้  

3.ประโยชน์ของการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ
1. ใช้ในการวางแผนการบริหาร
2. ใช้ประกอบการตัดสินใจ
 3. ใช้ในการควบคุมสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
4. เพื่อให้การบริหารงานมีระบบ ลดความซ้ำซ้อน 


แหล่งอ้างอิง
-http://bluehuat.myreadyweb.com/article/category-24628.html

-https://sites.google.com/site/nanpua/krabwnkar-thekhnoloyi-sara-snthes

-http://www.slideshare.net/JLMinD/ss-14372236

วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558

ใบงานที่2

1.ภาษาคอมพิวเตอร์ หมายถึงอะไร?
ตอบ ภาษาใดๆ ที่ผู้ใช้งานใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ด้วยกัน แล้วคอมพิวเตอร์สามารถทำงานตามคำสั่งนั้นได้ คำนี้มักใช้เรียกแทนภาษาโปรแกรม แต่ความเป็นจริงภาษาโปรแกรมคือส่วนหนึ่งของภาษาคอมพิวเตอร์เท่านั้น และมีภาษาอื่นๆ ที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น HTML เป็นทั้งภาษามาร์กอัปและภาษาคอมพิวเตอร์ด้วย แม้ว่ามันจะไม่ใช่ภาษาโปรแกรม หรือภาษาเครื่องนั้นก็นับเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งโดยทางเทคนิคสามารถใช้ในการเขียนโปรแกรมได้ แต่ก็ไม่จัดว่าเป็นภาษาโปรแกรม


2.ภาษาคอมพิวเตอร์มีกี่ระดับอะไรบ้าง?
ตอบ ภาษาคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ 
       1.ภาษาระดับสูง (high level) 
       2.ภาษาระดับต่ำ (low level)

3.จงเขียนชื่อภาษาคอมพิวเตอร์มา5ชื่อ ?
ตอบ 1.ภาษาเครื่อง(Machine Languages)
          2.ภาษาแอสแซมบลี(Assembly Languages)
          3.ภาษาระดับสูง(High-level Languages)
          4.ภาษาระดับสูงมาก(Very High-level Languages)
          5.ภาษาธรรมชาติ(Natural Languages)

วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558

ใบงานที่1

1.ภาษา HTML หมายถึงอะไร?
ตอบ HTML ย่อมาจากค าว่า "HyperText Markup Language" เป็นภาษาที่ใช้ในการเขียน
โปรแกรมภาษาหนึ่งของคอมพิวเตอร์ ที่แสดงผลในลักษณะของเว็บเพจ ซึ่งสามารถแสดงผลได้ใน
รูปแบบต่างๆ ไม่ว่าเป็นภาพกราฟิก ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง หรือการเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจอื่นๆ
ภาษา HTML เป็นภาษาที่มีลักษณะของโค้ด กล่าวคือ จะเป็นไฟล์ที่เก็บข้อมูลที่เป็นตัวอักษร
ในมาตรฐานของรหัสแอสกี (ASCII Code) โดยเขียนอยู่ในรูปแบบของเอกสารข้อความ จึงสามารถ
ก าหนดรูปแบบและโครงสร้างได้ง่าย


2.โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจด้วยภาษา HTML มีโปรแกรมใดบ้าง ยกตัวอย่างมา 2 โปรแกรม?
ตอบ1.Text Editor
        2.Notepad

วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

My Profile

สวัสดีคร๊าบบบ
เราชื่อ  นาย  ยศวริศ   โยมา 
ชั้นม.5/3  เลขที่  10
หรือจะเรียกว่า   ปราบ   ก้อได้น่ะ
เกิดเมื่อวันที่   28 พฤศจิกายน 2541
อายุตอนนี้ประมานๆ 16 จะ 17 ปีล่ะ
กำลังเรียนอยู่ที่   โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง
สายการเร่ียนวิชา   วิทย์-คณิต